วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เขาขนาบน้ำ เป็นสัญลักษณ์ของเมือง กระบี่






เขาขนาบน้ำ เป็นสัญลักษณ์ของเมือง กระบี่ เลยทีเดียวมองเห็นเป็นเขาสูงสองลูกตั้งขนาบแม่น้ำ กระบี่ ด้านหน้าตัวเมืองนั่งเรือเพียง 15 นาทีก็ถึง สองฝั่งเป็นป่าชายเลนที่มีความสมบูรณ์สามารถขึ้นไปเที่ยวถ้ำบนเขาได้ ภายในมีหินงอกหินย้อยและเป็นสถานที่ที่เคยพบโครงกระดูกมนุษย์จำนวนมากสันนิ สฐานว่าเป็นกลุ่มคนที่เคยมาตั้งหลักแหล่งในสมัยโบราณและอาจเกิดอุทกภัยอย่าง ฉับพลันทำให้ล้มตายลงพร้อมกันจำนวนมากแต่ปัจจุบันไม่มีหลงเหลืออยู่แล้วใกล้ เขาขนาบน้ำเป็นชุมชนชาวเกาะกลางซึ่งมีพิพิธภัณฑ์และศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้าน แสดงเครื่องใช้สมัยโบราณและของที่ระลึกฝีมือชาวบ้านอีกทั้งได้สัมผัสวิถี ชีวิตของคนในชุมชน ชมการทอผ้า การเลี้ยงปลาในกระชังการทำประมงพื้นบ้านของชาวกระบี่เป็นต้น



เขาขนาบน้ำ เป็นเขาสองลูกสูงประมาณ 100 เมตร ขนาบแม่น้ำกระบี่ด้านหน้าตัวเมือง ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองกระบี่ สามารถไปเที่ยวชมได้โดยเช่าเรือหางยาวที่ท่าเรือเจ้าฟ้า ใช้เวลาเดินทางเพียง 15 นาที
นอกจากนั่งเรือชมเขาและป่าชายเลนที่มีความสมบูรณ์แล้วยังสามารถเดินขึ้น ไปเที่ยวถ้ำได้ ภายในมีหินงอกหินย้อยและเป็นสถานที่ที่เคยพบโครงกระดูกมนุษย์จำนวนมากอีก ด้วยแต่ปัจจุบันไม่หลงเหลืออยู่แล้ว สันนิษฐานว่าอาจเป็นโครงกระดูกของกลุ่มคนที่อพยพมาตั้งหลักแหล่งแต่ล้มตายลง เนื่องจากเกิดอุทกภัยอย่างฉับพลัน 
และสำหรับนักนิยมพายเรือแคนู บริเวณนี้เหมาะที่จะพายเรือแคนูเพราะมีธรรมชาติที่เขียวชอุ่มด้วยป่าชายเลน และน้ำนิ่ง สนใจสามารถติดต่อบริษัทเรือแคนู ในจังหวัดกระบี่ได้ 
นอกจากนั้นไม่ห่างจากเขาขนาบน้ำจะ มีชุมชนชาวเกาะกลาง ที่บนเกาะจะมีหอพิพิธภัณฑ์และศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านแสดงเครื่องใช้ในสมัย โบราณ ของที่ระลึกฝีมือชาวบ้าน อาทิ เรือโทงเทง และจะได้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวบ้าน การทอผ้าฝ้าย การเลี้ยงปลาในกระชัง
เขาขนาบน้ำนับเป็นภูเขาที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกระบี่ เพราะเมื่อเดินทางเข้าถึงตัวจังหวัด ภาพที่งดงามประทับใจ คือภาพเขาขนาบน้ำเคียงคู่ หันหน้าเข้าหากันริมแม่น้ำกระบี่ มีหลักฐานยืนยันว่า เขาขนาบน้ำเคยเป็นที่พักอาศัยของผู้คนมาหลายยุคสมัยหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงยุคประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ ที่ ๒



ลักษณะทั่วไป
บริเวณหลุมขุดทดลองเป็นเพิงผาขนาด ๒๓ x ๗ เมตร ตั้งอยู่ทางตอนล่างของเขาขนาบน้ำติดกับแม่น้ำกระบี่ พื้นผิวของแหล่งที่ขุดทดลอง อยู่เหนือระดับน้ำขณะน้ำขึ้นประมาณ ๑.๕๐ เมตร และได้ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าเศษหินที่หลุดออกมาเป็นสะเก็ดตอนหน้าของบริเวณ ที่ขุดทดลองซึ่งมีอยู่ตลอดแนวที่ระดับน้ำท่วมถึงนั้น ยังคงมีการกัดเซาะอยู่เมื่อระดับน้ำสูงขึ้น ระยะสูงจากส่วนล่างของผนังเพิงผา ๕ เมตร มีรอยตัดอันเนื่องมาจากการซัดของคลื่นซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วงหนึ่งในอดีต ระดับน้ำทะเลสูงกว่าปัจจุบันประมาณ ๕ เมตร ซึ่งดร. ไพบูลย์ ประโมจนีย์ นักธรณีวิทยาและผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยาเขตคาบสมุทรไทย ได้เปรียบเทียบรอยเซาะจากทะเลในถ้ำหลายแห่งบริเวณนั้น ได้ให้ข้อคิดว่า รอยตัดนั้นดูค่อนข้างใหม่ น่าจะมี
อายุตรงกับสมัยไพลสโตซีน ตอนกลาง ในช่วงที่ระดับน้ำทะเลครั้งสุดท้ายขึ้นสูงสุด คือ อายุระหว่าง ๖,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ ปี
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ศาสตราจารย์ ดร. ดักลาส แอนเดอร์สัน จากมหาวิทยาลัยบราวด์ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับ ดร. พรชัย สุจิตต์ และดร. วรรณี วิบูลย์สวัสดิ์ แอนเดอร์สัน (นักมานุษยวิทยา) ได้ทำการขุดหลุมทดลอง เพื่อสำรวจทางโบราณคดี พบหลักฐานซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นแหล่งที่เคยมีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ อาศัยอยู่ก่อน


ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ภายใต้โครงการศึกษา แหล่งโบราณคดีช่วงปลายยุคไพลสโตชีน - โฮโลชีน โดยมี ดร. พิสุทธิ วิจารสรณ์ ผู้เชี่ยวชาญสำรวจจำแนกดิน กรมพัฒนาที่ดินเป็นหัวหน้าโครงการร่วมกับรศ.ดร.ไพบูลย์ ประโมจนีย์ นักธรณีวิทยาผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศ.ดร.ดักลาส แอนเดอร์สัน และรศ.ดร.วรรณี วิบูลย์สวัสดิ์ แอนเดอร์สัน นักมานุษยวิทยา ได้รับเงินทุนจากรัฐบาลไทย ให้ทำการขุดค้นที่ถ้ำเขาขนาบน้ำ บริเวณทางซ้ายมือของหลุมทดลองที่เคยขุด เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อศึกษาการปรับตัวของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่ริมทะเลเมื่อ ประมาณ ๖,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปี ซึ่งการขุดค้นจะอยู่ในความควบคุมดูแลของกรมศิลปากรและศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด กระบี่
หลักฐานที่พบ
บริเวณหลุมขุดค้นที่ทำการขุด เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ พบหลักฐานหลายชิ้นที่แสดงว่าเคยมีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่เป็นต้น ว่า เปลือกหอย กระดูกสัตว์ ที่มีร่องรอยการเผากินเป็นอาหาร ฟันสัตว์ เขี้ยวสัตว์ เศษถ่าน เศษภาชนะดินเผาประเภทหม้อสามขา กระดูกขามนุษย์ ฯลฯ
หลักฐานเหล่านี้ ศ. ดร. ดักลาส แอนเดอร์สัน จะทำการศึกษาวิจัยในประเทศไทยให้เสร็จสิ้นแล้วส่งมอบให้กรมศิลปากร เป็นผู้เก็บรักษาไว้ ยกเว้นผงถ่าน ซึ่งจำเป็นต้องนำไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทำการทดสอบด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า "Radio cabon ๑๔ " เพื่อหาอายุโดยประมาณของผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณแหล่งโบราณคดีเขาขนาบน้ำที่ ทำการขุดค้นนี้
นอกจากนี้ ทีมงานที่ทำการขุดค้นได้เว้นพื้นที่ใกล้เคียงไว้เพื่อให้นักโบราณคดีในยุค ต่อ ๆ ไป ที่สนใจและมีเครื่องมือที่ทันสมัยมากขึ้นได้ทำการขุดค้นหาหลักฐานที่ยังคง หลงเหลืออยู่เพื่อทำการศึกษาวิจัยต่อไปในอนาคต
เส้นทางเข้าสู่สถานที่สำคัญ
โดยสารเรือหางยาวจากท่าเรือสะพานเจ้าฟ้า ไปยังภูเขาซึ่งตั้งอยู่เบื้องหน้าลูกที่อยู่ทางขวามือใช้เวลาประมาณ ๑๐ นาที หรือลงเรือจากโรงแรมกระบี่เมอร์รี่ไทม์ ไปยังภูเขาลูกทางซ้ายมือ ใช้เวลาประมาณ ๒-๓ นาที ก็จะถึงแหล่งโบราณคดีเขาขนาบน้ำ

ขอบคุณข้อมูล...จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่น้ำกระบี่ มีภูเขาสองลูก ความสูง 100 เมตร อยู่ติดแม่น้ำ ภูเขาสองลูกนี้มีชื่อเรียกว่า เขาขนาบน้ำ บริเวณนั้นมีถ้ำพระ ที่มีหินงอกหินย้อย และมีโครงกระดูกมนุษย์โบราณ แสดงว่า เคยเป็นชุมชนโบราณ

ประวัติข้อมูลทั่วไปตำบลคลองประสงค์




ตำบลคลองประสงค์  มีสภาพพื้นที่เป็นเกาะ  ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำกระบี่หรือทางฝั่งตะวันออกของเทศบาลเมือง  ทิศใต้อยู่ติดปากอ่าว  ส่วนทิศตะวันออกติดเขตตำบลเหนือคลองโดยมีลำคลองไม้ไผ่และคลองเขม้าเป็นเส้นทางแบ่งเขตแดน  ด้านทิศเหนือเท่านั้นที่ไม่มีลำคลองและอยู่ติดเขตตำบลกระบี่น้อย  มีพื้นที่ตำบลทั้งหมดประมาณ  76  ตารางกิโลเมตร  หรือ  47,500  ไร่  ประกอบด้วย  4  หมู่บ้าน  คือ
                                หมู่ที่  1  บ้านเกาะกลาง       
                                หมู่ที่  2  บ้านคลองประสงค์ 
                                หมู่ที่  3  บ้านคลองกำ        
                                หมู่ที่  4  บ้านบางขนุน        
มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น  5,177  คนเป็นหญิง  2,587   คนชาย   2,590   คน จากครัวเรือนทั้งหมด  1,217  ครัวเรือน  ความหนาแน่นของประชากร  69  คน ต่อตารางกิโลเมตร    ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามคิดเป็นประมาณ 90 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด ทรัพยากรธรรมชาติและอาชีพเนื่องจากตำบลคลองประสงค์เป็นพื้นที่ซึ่งมีน้ำล้อมรอบเกือบทุกด้าน ตั้งอยู่บนพื้นที่ปากแม่น้ำกระบี่และปากอ่าวฝั่งทะเลอันดามันจึงทำให้มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าชายเลนรวมทั้งมีหาดทรายและหาดเลนในส่วนที่ติดกับท้องทะเลด้านปากอ่าว  นอกจากนั้นยังมีแผ่นดินซึ่งเหมาะแก่การเกษตรโดยเฉพาะการทำนาซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในหมู่ที่ 1  หมู่ที่  2  และหมู่ที่  3  ส่วนพืชอื่น ๆ ที่ปลูกได้แก่มะพร้าว  มะม่วงหิมพานต์  ปาล์มน้ำมัน และยางพารา  ฯ ล ฯ
การประกอบอาชีพโดยทั่วไปของประชากร  มีลักษณะผสมผสานระหว่างการประมงชายฝั่งและการเกษตร กิจกรรมการประมงที่สำคัญได้แก่  การจับกุ้ง  ปลา  การหาหอยหวานตามหาดทราย  หาปูดำในแนวชายเลน  ป่าโกงกาง การเพาะเลี้ยงปลาและหอยแมลงภู่  ในกระชังบริเวณปากแม่น้ำและลำคลองต่างๆ นอกจากนี้ยังมีอาชีพนอกภาคเกษตร  เช่น  การรับจ้างและบริการ เนื่องจากตำบลคลองประสงค์อยู่ติดเมือง  มีป่าโกงกางและลำคลองสายต่าง ๆ ที่เป็นพื้นที่ป่าชายเลนที่สมบูรณ์ค่อนข้างสูง  และวิถีชีวิตที่ดั้งเดิม  จึงเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว  ทำให้เกิดอาชีพมัคคุเทศก์และการบริการเรือรับจ้างและรถรับจ้างแก่นักท่องเที่ยว   ซึ่งนับว่าเป็นรายได้เสริมที่สำคัญแหล่งหนึ่ง   นอกจากนั้นยังมีการแปรรูปสัตว์น้ำและหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นกิจกรรมของกลุ่มต่าง ๆ ที่ทำรายได้ให้กับหมู่บ้านด้วยเช่นกัน  ประกอบกับพื้นที่ตำบลคลองประสงค์มีสถานที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง  เช่น  สวนรุกขชาติเขาขนาบน้ำ  หาดแหลมขาม  หาดแหลมสน            ป่าโกงกาง  กลุ่ม  OTOP   โฮมสเตย์  กระชังปลา  เขาขนาบน้ำ  เป็นต้น
โดยส่วนใหญ่ประชาชนในพื้นที่เป็นชาวมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม  มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน   ถึงแม้จะอยู่ใกล้ในเมืองแต่ก็ไม่ได้ทิ้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบชาวบ้าน   ซึ่งถือว่าเป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งที่น่าจะสืบทอดต่อไป 

ขอบคุณเจ้าของข้อมูลคะ....

วิถีชีวิตชาวบ้านในชุมชนเกาะกลาง





ชุมชนบ้านเกาะกลาง ต.คลองประสงค์ การดำรงค์ชีวิตประจำวันที่เดินควบคู่กับการท่องเที่ยวอย่างรู้คุณค่าธรรมชาติ....

หลายคนอาจยังไม่เคยรู้ว่าเมืองกระบี่นอกจากจะมีแหล่งท่องเทียวทางทะเลที่สวยงาม มีหมู่เกาะต่าง ๆ ที่น่าหลงใหลแล้ว ที่นี่ยังมีแหล่งท่องเที่ยวชมวิถีชุมชน และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่น่าค้นหา และน่าแวะไปเยี่ยมเยือน นั่นคือ "ชุมชนเกาะกลาง" ตำบลคลองประสงค์ ชุมชนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ ผู้คนที่นี่ใช้ชีวิตอย่างสงบ ชุมชนเกาะกลางตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำกระบี่ ซึ่งถูกห้อมล้อมด้วยป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากชุมชนเกาะกลางนั้นอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองกระบี่ สามารถนั่งเรือเพื่อข้ามฟากจากฝั่งตัวเมืองมายังเกาะได้เลย โดยมีท่าเรือให้ใช้บริการได้ 2 ท่าคือ ท่าเรือสวนสาธารณะธารา (ตัวเมือง) มายัง ท่าเรือท่าเล (เกาะกลาง) ใช้เวลาประมาณ 5 นาที และจากท่าเรือเจ้าฟ้า (ตัวเมือง) มายัง ท่าเรือท่าหิน (เกาะกลาง) ใช้เวลาประมาณ 15 นาที โดยจะมีเรือให้บริการตั้งแต่ 6 โมงเช้า ไปจนถึง 3 ทุ่ม เมื่อมาถึงแล้วก็สามารถเลือกได้ว่าจะเช่าจักรยาน หรือใช้บริการรถสามล้อ จากบริเวณท่าเรือท่าเล เพื่อเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวจุดต่าง ๆ ในชุมชนรอบเกาะได้ โดยมีระยะทางรอบเกาะประมาณ 11 กิโลเมตร เมื่อมาถึงเกาะกลาง สิ่งแรกที่ทำให้เราประทับใจในทันทีคือความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติบนเกาะ ทั้งทุ่งนาที่เขียวขจี มองเห็นเจ้าทุยกำลังเล็มหญ้าอย่างเพลิดเพลิน บ้านเรือนของชาวมุสลิมที่เรียงรายริมถนน ชาวบ้านที่อาศับบนเกาะนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมถึง 98% ซึ่งบนเกาะมีทั้งหมด 3 หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านก็จะมีมัสยิดไว้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ชาวบ้านที่นี่จะทำอาชีพประมงชายฝั่งเป็นส่วนใหญ่ และทำเกษตรกรรมบนเกาะ

..กิจกรรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนเกาะกลาง...มาถึงเกาะกลาง จะทำอะไรกันดี นอกจากที่ได้ ทาง รร เราได้แนะนำที่พพักไปแล้ว และแน่นอนกิจกรรมหลัก คือ เที่ยวชมบรรยากาศและวิถีชีวิตชาวบ้านรอบเกาะ ซึ่ง บนเกาะกลางนั้นมีกลุ่มอาชีพหลายกลุ่ม ตั้งแต่กลุ่มทำผ้ามัดย้อม ทำผ้าบาติก ทำเรือหัวโทง ชมการสักหอยชายหาด การตกปู การเที่ยวรอบเกาะจะปั่นจักรยานเที่ยว ขี่มอเตอร์ไซต์ หรือใช้บริการรถสามล้อพ่วงข้างนำเที่ยวก็ย่อมได้ เกาะกลางมีถนนสายหลักเล็กๆ เป็นคอนกรีต วิ่งรอบเกาะอยู่ 1 สาย ตลอดสองข้างทางก็จะเป็นบ้านเรือนของผู้คน บ้าง เป็นทุ่งหญ้า ป่าชายเลนบ้างสลับกันไป ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมงพื้นบ้าน และรับจ้างทั่วไป ชาวมุสลิมบนเกาะกลางนั้น รักสันติ มีความสงบและเรียบง่าย เต็มไปด้วยมิตรภาพ และรอยยิ้ม


-จุดแรก แวะชม กลุ่มข้าวสังหยด เกาะกลางมีการปลูกข้าวด้วย เรียกว่า ข้าวสังข์หยด เป็นข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองที่เป็นของดีของภาคใต้ และในพื้นที่เกาะกลางเป็นอีกหนึ่งแหล่งของภาคใต้ที่มีการทำนาข้าวสังข์หยดจนได้กลายมาเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์โอท็อปของจังหวัดกระบี่ ข้าวสังหยดที่ปลูกบนเกาะกลางจะแตกต่างจากแหล่งอื่นๆ เพราะที่ดินที่เกาะกลางมีความเค็มของน้ำทะเลผสมอยู่ด้วย เมื่อหุงแล้ว มีความหอม หุงขึ้นหม้อ และเคี้ยวนุ่ม โดยการทำนาข้าวสังหยดจะปลูกปีละครั้งในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน และเกี่ยวข้าวในช่วงเดือนธันวาคม เพราะฉะนั้นใครอยากได้บรรยากาศสีเขียวในช่วงทำนาก็เลือกมาให้ถูกจังหวะ


-และต่อมาคือ กลุ่มเรือหัวโทง ซึ่งในสมัยก่อนชาวเกาะกลางนิยมใช้เรือหัวโทงทำประมงหาเลี้ยงชีพและใช้ในการเดินทาง แต่ปัจจุบันอาชีพประกอบเรือหัวโทงเริ่มลดน้อยลง และรูปแบบเรือหัวโทงดั้งเดิมก็หาดูได้ยาก ชาวบ้านจึงรวมกลุ่มขึ้นมาเพื่อทำเรือหัวโทงจำลองขึ้นโดยมี บังสมบูรณ์ เป็นผู้บุกเบิก การต่อเรือหัวโทงจำลอง โดยใช้วิชาความรู้ ที่ได้สืบทอด มาจากคุณพ่อ ซึ่งเป็นช่างต่อเรือ ชาวเกาะกลาง ที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้ประวัติและความเป็นมาของเรือที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกระบี่ โดยเรือหัวโทงจำลองจากเกาะกลางได้พัฒนาเป็นสินค้าโอทอประดับ 4 ดาว ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัด
-ออกมาจากกลุ่มเรือหัวโทง เราจะถึงจุดต่อไป นั้นคือ ศูนย์ผ้ามัดย้อม จากสีธรรมชาติ ที่ได้จากเปลือกไม้ และต้นไม้ต่างๆ กรรมวิธี คือ นำผ้าสีขาวมามัดด้วยหนังยางเพื่อสร้างลวดลาย จากนั้นนำไปต้มลงในสีธรรมชาติที่เตรียมไว้ จนกลายเป็นลวดลายผ้ามัดย้อมที่สวยงาม เราสามารถทดลองทำโดยใช้ จินตนาการแต่งแต้มสีสัน ลวดลายต่างๆๆ ด้วยตัวเราเอง หากมีเวลา ต้องลงสีนานๆๆ เพราะสีธรรมชาติจะติดทนนานไม่เหมือน กับสีสังเคราะห์
-กลุ่มต่อไปที่จะแนะนำ กลุ่มผ้าบาติคและทำผ้าปาเต๊ะ ซึ่งลายผ้าปาเต๊ะบนเกาะกลางจะมีรูปแบบเฉพาะตัวที่มีการผสมผสานกันระหว่างการทำผ้าปาเต๊ะของชาวมาเลย์กับวิธีการทำผ้าบาติกลายผ้า ทำให้สีสันที่ออกมามีความสวยงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเรียนรู้และทดลองผ้าปาเต๊ะด้วยมือของตัวเอง
-อีกลุ่มหนึ่งที่อยากจะแนะนำ กลุ่มการเลี้ยงผึ้งโพรง บ้านพอเพียง **มีชื่อว่า เรินปะ เรินมะ** เป็นภาษาใต้มุสลิม แปลว่า บ้านพ่อ บ้านแม่ นั้นเอง สวนไผ่มีความร่มรื่นมาก มีความอาร์ตชิคผสมผสานการตกต่างแนวบ้านๆ มีมุมนั่งเล่นน่ารักหลายมุมของที่ระลึกที่เจ้าของทำด้วยตัวเอง ทั้งที่คาดผมผ้าบาติก ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเมล็ดลูกตาลไอเดียดีมาก นำมาทำเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ให้เลือกซื้อเป็นของที่ระลึก
**ข้อปฎิบัติสำหรับนักท่องเที่ยว**
1 ห้ามนำสิ่งเสพติด หรือของมึนเมาทุกชนิดขึ้นมาบนเกาะ
2 ห้ามนำอาหารที่มีหมู ขึ้นมาบนเกาะ
3 ห้ามนำสุนัขขึ้นมาบนเกาะ
4 ควรแต่งกายสุภาพ มิดชิด ผู้หญิงไม่ควรสวมเสื้อสายเดี่ยว เกาะอก หรือกางกางขาสั้นสูงจนเห็นต้นขา
5 ห้ามแสดงพฤติกรรมเชิงชู้สาว หรือ อนาจารในที่สาธารณะ

***ขอบคุณทุกความร่วมมือ***

เกาะกลางท่องเที่ยววิถีชุมชน

Nisarine Hostel Koh Klang Krabi ปลายฝนต้นหนาว EP 1

 Koh Klang is on the west coast of southern Thailand, at the mouth of Krabi River in the Andaman Sea. It is the closest island to Krabi town...